ถุงยางอนามัย : สาระน่ารู้
ถุงยางอนามัย จากการที่ผู้ป่วยโรคเอดส์ร้อยละ 84 ได้รับเชื้อเอดส์มาจากการมีเพศสัมพันธ์ มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์
จึงเน้นที่การรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม รักเดียว-ใจเดียว มีคู่เพศสัมพันธ์เพียงคนเดียว
แต่ก็ยังคงมีการแพร่ระบาดทางเพศสัมพันธ์ในระดับสูง มาตรการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยจึงเป็นมาตรการสำคัญที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางเพศสัมพันธ์จากการเฝ้าระวันพฤติกรรม
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ใน กลุ่มประชากรที่มีอายุ 15 - 29 ปี พบว่าอัตราการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสน้อยกว่าร้อยละ
30 ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีเจตคติต่อถุงยางอนามัยในเชิงลบ
เช่น คิดว่าถุงยางอนามัยให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มั่นใจในคุณภาพของถุงยางอนามัยกลัวคู่นอนคิดว่าตัวเองติดเชื้อและไม่แน่ใจว่าถุงยางอนามัยจะป้อง
กันโรคได้
แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องโรคเอดส์
และวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอดส์เป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่นิยมใช้ถุงยางอนามัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของถุงยางอนามัย
เพื่อให้ยอมรับการใช้ถุงยางอนามัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ให้น้อยลง
โดยการเน้นความน่าเชื่อถือในคุณภาพและแสดงถึงความรอบคอบ และปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ตีตราว่าถุงยางอนามัยเป็นสัญลักษณ์ของความสำส่อนทางเพศ
ให้สื่อแสดงว่าถุงยางเป็น เครื่องใช้ที่บ่งบอกถึงความรอบคอบระมัดระวังรวมทั้งต้องส่งเสริมสนับสนุนและควบคุมตรวจสอบการผลิตถุงยางอนามัยให้มีมาตรฐานคุณภาพดีสร้างความมั่นใจต่อประชาชนผู้บริโภคว่ามีความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์ได้ถุงยางอนามัยหรือ Condom เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ
น้ำยางสังเคราะห์หรือวัตถุอื่น ๆ ใช้สวมอวัยวะเพศชายในขณะร่วมเพศ เพื่อป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด
เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ถุงยางอนามัยมีชื่อเรียกหลายอย่าง
เช่น ถุง ปลอก เสื้อฝน เสื้อเกราะ มีชัย สุลต่าน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า condom,skin,sheath,prophylactics
เป็นต้น
ความเชื่อผิด
ๆ เกี่ยวกับถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยป้องกันโรคได้
100%
ความจริงก็คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ได้จำกัดการติดต่อเพียงแค่การร่วมเพศเท่านั้น
เพราะยังมีบางโรคที่สามารถติดต่อผ่านการจูบหรือผ่านอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้
ถุงยางป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%
แม้ในปัจจุบันวิธีที่ปลอดภัยที่สุดยังมีผิดพลาดกันได้เลยครับ
แม้แต่ถุงยางอนามัยเองก็ตาม ยิ่งผู้ใช้ใช้ไม่เป็นก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
แต่ก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุดครับ
ใส่ถุงยาง 2 ชั้น ดีกว่าชั้นเดียว
คิดผิดมหันต์เลยครับ
เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่านอกจากจะยังไม่ช่วยอะไรและลำบากต่อการสวมใส่หลาย ๆ
ชั้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการฉีกขาดของถุงยางได้ง่าย (มาก) อีกด้วย
ใส่ถุงยางแล้วมันไม่ถึงใจ
ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจจะใช้ครับ
แต่เดี๋ยวนี้ถุงยางมันพัฒนาไปไกลมากแล้วครับ เมื่อก่อนมีความบางประมาณ
0.05-0.07 มม. ขึ้นไป แต่เดี๋ยวมีขนาดบางเฉียบถึง 0.01 มิลลิเมตรให้ใช้กันแล้วครับ !! เรียกได้ว่าแทบไม่รู้สึกว่าใส่กันเลยทีเดียว
หนำซ้ำถุงยางอนามัยบางยี่ห้อยังเพิ่มสารที่ช่วยทำให้ผู้ใช้อยู่ในสนามรบได้อย่างยาวนานมากขึ้นอีกด้วย
แบบนี้จะบอกว่ามันยังไม่ถึงใจได้ยังไง เปลี่ยนความคิดกันใหม่ได้แล้วครับ
ประตูหลัง
ถุงยางเอาอยู่
ถุงยางอนามัยถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับช่องคลอดเป็นหลัก
แต่ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจมีความคับแคบและเสียดสีมากกว่าปกติ
จึงทำให้เสี่ยงต่อการฉีกขาดของถุงยางได้ ก็คือยังใช้ได้แหละครับ
เพียงแต่ต้องระมัดระวังในการใช้ด้วย
รอเกือบเสร็จแล้วค่อยใส่ถุงยางก็ได้
แนะนำว่าอย่าเสี่ยงทำแบบนี้ครับ เพราะน้ำอสุจิสามารถปนออกมากับน้ำหล่อลื่นของอวัยวะเพศชายได้ตลอดเวลา (แม้จะไม่ถึงจุดสุดยอดก็ตามที)
อีกอย่างหน้าที่ของถุงยางอนามัยก็ไม่ได้มีไว้แค่ป้องกันการตั้งครรภ์จากอสุจิเท่านั้น
แต่ยังใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยครับ
ใช้ถุงยางซ้ำได้ ประหยัดดี
อย่าทำนะครับ เป็นอีกวิธีที่เสี่ยงมากเช่นกัน
เพราะถุงยางอนามัยถูกออกแบบมาให้ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง
ไม่ใช่เอาไปล้างน้ำแล้วจะใส่ซ้ำได้ หรือบางบอกว่าไม่ต้องล้างก็ได้
ก็ใช้ต่อไปเลยอีกยก แบบนี้ก็ไม่แนะนำครับ เพราะถุงยางที่ใช้แล้วจะมีประสิทธิภาพลดลง
อาจเกิดการฉีกขาดได้ง่าย และถุงยางอาจหลวมหรือหลุดเข้าไปในช่องคลอดได้ครับ
เก็บถุงยางไว้ในกระเป๋าสตางค์
อีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรทำครับ
เพราะกระเป๋าสตางค์เป็นสิ่งที่ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาเมื่อออกไปนอกบ้าน
โดยเฉพาะเมื่อมันถูกยัดอยู่ในกระเป๋าหลัง กระเป๋าสตางค์จะเกิดการเสียดสี
เกิดความร้อน และแรงกดทับ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ถุงยางเสื่อมคุณภาพลง
ดังนั้น การเก็บถุงยางไว้ในกระเป๋าสตางค์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำที่สุด
ทางที่ดีคุณควรเก็บไว้ในที่เย็นและแห้งจะดีกว่า
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่ม-เด็กท้องไม่พร้อม
กระทรวงสาธารณสุขผุดยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัย
ส่งเสริมให้พกแบบมั่นใจ เข้าถึงสะดวก ทุกชิ้นมีคุณภาพ สร้างทัศนคติใหม่ เป็นอุปกรณ์สุขอนามัยในชีวิตประจำวัน
เมื่อ
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
(คร.) พร้อมด้วย นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมแถลงข่าว
เรื่อง ยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ พ.ศ.2558?2562 "Public-Private
Partnership เพื่อรักปลอดภัย" โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง คร.
กรมอนามัย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)
นพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย พบว่าในปี 2557 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 445,504 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,816 คน โดยร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน โดยที่ผ่านมามีความท้าทายหลายประการ ทำให้ประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการส่งเสริมให้ประชากร ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์มีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเห็นได้จากอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลับมีแนวโน้มสูง ขึ้น รวมถึงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเยาวชน
นพ.ภานุมาศกล่าวว่า กรมควบคุมโรค โดยความร่วมมือของกรมอนามัย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติพ.ศ.2558-2562 เพื่อลดช่องว่างของการทำงานและส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งมี 5 แนวทางในการทำงาน ดังนี้
นพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย พบว่าในปี 2557 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 445,504 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,816 คน โดยร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน โดยที่ผ่านมามีความท้าทายหลายประการ ทำให้ประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการส่งเสริมให้ประชากร ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์มีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเห็นได้จากอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลับมีแนวโน้มสูง ขึ้น รวมถึงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเยาวชน
นพ.ภานุมาศกล่าวว่า กรมควบคุมโรค โดยความร่วมมือของกรมอนามัย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติพ.ศ.2558-2562 เพื่อลดช่องว่างของการทำงานและส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งมี 5 แนวทางในการทำงาน ดังนี้
1."พกได้ มั่นใจ" ยอมรับและลดอคติ
2."หาง่าย ใช้เป็น" เข้าถึงสะดวก ใช้ได้ถูกวิธี
3."ทุกชิ้น มีคุณภาพ" ควบคุมการผลิตได้มาตรฐาน
4."รัฐนำ ทุกฝ่ายหนุน" สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ถุงยางอนามัย
5."เร่งรัด วัดผล" เร่งประเมินผลเพื่อมุ่งความสำเร็จ
"สิ่งสำคัญจะเน้นขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยทั้งในระดับ บุคคล ครอบครัว สังคม รวมทั้ง นโยบาย กฎหมาย หรือกฎระเบียบ ตามแนวคิด รัฐนำ ทุกฝ่ายหนุน โดยมุ่งเน้นสร้างความตระหนักให้ประชาชนในประเทศไทยมีเจตคติว่าถุงยางอนามัย และถุงอนามัยสตรี เป็นอุปกรณ์สุขอนามัยที่ใช้ในการดำเนินชีวิตตามปกติ การส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศที่ดี และการป้องกันปัญหาสุขภาพหลายด้านพร้อมๆ กัน เช่น ป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งลดความเสี่ยงของมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งทวารหนัก" นพ.ภานุมาศกล่าว
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและอายุน้อยลงเรื่อยๆ จึงเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ตามมา เห็นได้ว่าปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติที่ต้องแก้ไขโดยความร่วมมือของหน่วยงานเครือ ข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
"สิ่งสำคัญจะเน้นขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยทั้งในระดับ บุคคล ครอบครัว สังคม รวมทั้ง นโยบาย กฎหมาย หรือกฎระเบียบ ตามแนวคิด รัฐนำ ทุกฝ่ายหนุน โดยมุ่งเน้นสร้างความตระหนักให้ประชาชนในประเทศไทยมีเจตคติว่าถุงยางอนามัย และถุงอนามัยสตรี เป็นอุปกรณ์สุขอนามัยที่ใช้ในการดำเนินชีวิตตามปกติ การส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศที่ดี และการป้องกันปัญหาสุขภาพหลายด้านพร้อมๆ กัน เช่น ป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งลดความเสี่ยงของมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งทวารหนัก" นพ.ภานุมาศกล่าว
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและอายุน้อยลงเรื่อยๆ จึงเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ตามมา เห็นได้ว่าปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติที่ต้องแก้ไขโดยความร่วมมือของหน่วยงานเครือ ข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
ขบวนการผลิตถุงยางอนามัยประกอบด้วย
6 ขั้นตอนคือ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าถุงยางอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดและถุงยางออนไลน์ที่นิยมสั่งซื้อกันมากในยุคนี้จะผ่านขั้นตอนการผลิต และการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและภาครัฐแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าถุงยางอนามัยทุกชิ้นที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเสื่อมสลายได้ตามระยะเวลา และสภาพการเก็บรักษา อาจมีส่วนทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควรหรือก่อนวันสิ้นอายุที่ระบุไว้บนฉลากเมื่อนำถุงยางอนามัยไปใช้งานจะสามารถใช้คุมกำเนิดหรือป้องกันโรคได้แน่นอนหรือไม่ มิได้ขึ้นกับคุณภาพของถุงยางอนามัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ว่าใช้ถูกต้องหรือไม่ หมดอายุการใช้งานหรือยัง หรืออาจแตกขณะใช้ สาเหตุเนื่องจากบางครั้งผู้ใช้อาจละเลย หรือมิได้คำนึงถึงเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งได้แก่ การเลือกสถานที่ซื้อถุงยาง การเก็บรักษาและวิธีการใช้หากผู้ใช้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับคุมกำเนิดและป้องกันโรค ตลอดจนสามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อถุงยางอนามัย
- ถุงยางอนามัยแบ่งชนิดตามลักษณะผิว เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดผิวเรียบ และชนิดผิวไม่เรียบ
- การเลือกซื้อควรสังเกตดู ว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ซื้อควรสังเกตข้อความอื่น ๆ ว่าครบถ้วน และตรงกับความต้องการหรือไม่ เช่น ชื่อผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า รุ่นที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต มีสารหล่อลื่น หรือสารฆ่าเชื้ออสุจิ มีสารแต่งกลิ่นหรือไม่ ฯลฯ
ประเภทของถุงยาอนามัย
ถุงยางอนามัยแบ่งประเภทตามขนาดความกว้าง ( ครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงของถุงยางนามัย
) เป็น 13 ขนาด คือ 44 , 45 , 46 , 47 , 48 , 49 ,50
, 51 ,52 , 53 , 54 , 55 และ 56 มิลลิเมตร
(มม.) ขนาดที่มีจำหน่ายในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 49 มม.
มม. และ 52 มม.จากการสำรวจพบว่าปกติชายไทยจะใช้ถุงยางอนามัยขนาด
49 มม. หากเป็นชายไทยรุ่นใหม่ ขนาด 52 มม.
จะเหมาะสมกว่า การเลือกซื้อคงจะต้องซื้อในขนาดที่เคยใช้สวมใส่มาแล้ว หากมีขนาดใหญ่เกินไปจะหลวมและหลุดง่าย
หากเล็กไปจะฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่อยากใช้และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อถุงยางอนามัย
ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด และผู้มีเพศสัมพันธ์กับคนขายบริการ
กับคนที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น หรือกับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก
ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก ก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง แม้ว่าจะเราจะทราบหรือไม่ทราบว่าเขาติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม แนะนำให้ซื้อมาเผื่อใว้ขอแนะนำ ร้านถุงยางออนไลน์